รายได้เกิน 1.8 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ พร้อมวิธีคำนวณภาษีย้อนหลัง
คนที่ทำธุรกิจส่วนตัว “ฟรีแลนซ์” ควรระวัง เมื่อเราทำงานเสร็จ ก็รับเงินจากนายจ้าง และ ถูกนายจ้าง จะหัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งให้สรรพากร หากพบว่ามีรายรับไม่เกิน 1.8 ล./ปี ก็ยังพอเบาใจหน่อย ถ้าหากมีรายได้เกิน 1.8 ล้าน/ปี ต้องยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน (มาตรา 85 ในประมวลรัษฎากร) ในกรณีที่เราไม่ได้คิด VAT จากผู้ว่าจ้าง ภาระทางภาษีก็จะตกเป็นของผู้รับจ้างหรือผู้รับเงินไปในทันที
ตัวอย่าง ในกรณี ที่เราไม่ได้จด VAT แต่มีรายได้ เกิน
เช่น คุณมีรายได้ในปีนั้น 1.9 ล้านบาทแต่ไม่ได้ยื่นจด VAT ภาษีที่จะต้องถูกเรียกย้อนหลัง จาก ส่วนที่เกินจาก 1.8 ล้าน (1,900,000-1,800,000)คือ 100,000 ภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มในปีนั้น คือ 7,000 บาท (อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%) รายได้ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่ว่าจะเท่าไรก็ตามก็จะถูกคำนวณ VAT ทั้งหมด
ดังนั้น ภาษีย้อนหลังที่ต้องเสียคือ 7,000 บาท แต่ถ้ายังคงไม่รีบไปยื่นขอจด VAT จะต้องเสียค่าปรับอีกตามระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่รายได้เกิน 1.8 ล้าน จนถึงวันที่ไปจด VAT หรือวันที่สรรพากรตรวจพบ ซึ่งต้องเสียค่าปรับตั้งแต่ 2-20% และเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน
เช่น กรณีนี้ภาษีย้อนหลังที่ต้องเสียคือ 7,000 บาท ถูกเรียกย้อนหลัง 5 เดือน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7,000 บาท
ค่าปรับอาญา 500 บาท
เงินเพิ่ม (7,000X1.5%)X5เดือน เท่ากับ 525 บาท
ค่าเบี้ยปรับ (7000 X 20 %) เท่ากับ1,400 บาท
รวมที่ต้องจ่ายให้สรรพากร 7,000+500+525+1400 = 13,925 บาท
เกณฑ์ ค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT (ภพ.30)
กรณียื่นเกินกำหนดเวลา
1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)
– ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับแบบ 300 บาท
– ยื่นแบบเกิน 7 วัน ค่าปรับแบบ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
– เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
3. ค่าเบี้ยปรับ
รายการ | เราตรวจเจอ | สรรพากรตรวจ ปรับ 2 เท่า |
ยื่นแบบไม่เกิน 15 วัน | 2% | 2% *2 |
ยื่นแบบไม่เกิน 30 วัน | 5% | 5% *2 |
ยื่นแบบไม่เกิน 60 วัน | 10% | 10% *2 |
ยื่นแบบเกิน 60 วัน | 20% | 20% *2 |
หากคุณยังไม่ต้องได้จด VAT ต้องคอยตรวจสอบรายรับว่าถึงเกณฑ์หรือยัง การทำบัญชีรับจ่ายส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญไม่ควรละเลย หากปล่อยและไม่สนใจอาจจะสร้างปัญหาในคุณได้ในอนาคต