แม่ค้าออนไลน์ รู้เรื่องภาษี สบายใจ หายห่วง
ต้องยอมรับว่า ยุคนี้ “การขายของออนไลน์” ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกหลักของคนทำธุรกิจ เนื่องด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เพื่อความสะดวกไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่จ้างพนักงาน แต่อีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องเรียนรู้ไว้ นอกจากการตลาดแล้ว คือ การเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร
การขายของออนไลน์ต้องยื่นเสียภาษีหรือไม่ ?
ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา (ภงด.90)
- ใช้เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
- รายรับไม่เกิน 1.8 ล./ปี ไม่ต้องยื่นขอจดVAT
- รายได้เกิน 1.8 ล้าน/ปี ต้องยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน (มาตรา 85 ในประมวลรัษฎากร)
ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) |
1. การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ |
(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60 |
(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 |
การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท |
2. การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 60 |
3. การเก็บค่าต๋ง หรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่างๆ ร้อยละ 60 |
4. การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
5. การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล ร้อยละ 60 |
6. การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้ หรือหนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
7. การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่นๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
8. การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
9. การทำกิจการโรงแรม หรือภัตตาคาร หรือการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มจำหน่าย ร้อยละ 60 |
10. การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย ร้อยละ 60 |
11. การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง ร้อยละ 60 |
12. การทำวรรณกรรม ร้อยละ 60 |
13. การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชรพลอย หรืออัญมณีอื่นๆ รวมทั้ง การขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
14. การทำกิจการสถานพยาบาล รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 60 |
15. การโม่หรือย่อยหิน ร้อยละ 60 |
16. การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น ร้อยละ 60 |
17. การขนส่ง หรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 60 |
18. การทำบล็อกและตรา การรับพิมพ์หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60 |
19. การทำเหมืองแร่ ร้อยละ 60 |
20. การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ร้อยละ 60 |
21. การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา ร้อยละ 60 |
22. การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 60 |
23. การทำน้ำแข็ง ร้อยละ 60 |
24. การทำกาว แป้งเปียก หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง ร้อยละ 60 |
25. การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60 |
26. การซักรีด หรือย้อมสี ร้อยละ 60 |
27. การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ร้อยละ 60 |
28. รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 60 |
29. การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ร้อยละ 60 |
30. การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60 |
31. การฟอกหนัง ร้อยละ 60 |
32. การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล ร้อยละ 60 |
33. การจับสัตว์น้ำ ร้อยละ 60 |
34. การทำกิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 60 |
35. การกลั่น หรือหีบน้ำมัน ร้อยละ 60 |
36. การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ร้อยละ 60 |
37. การทำกิจการโรงสีข้าว ร้อยละ 60 |
38. การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ ร้อยละ 60 |
39. การอบหรือบ่มใบยาสูบ ร้อยละ 60 |
40. การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60 |
41. การฆ่าสัตว์จำาหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60 |
42. การทำนาเกลือ ร้อยละ 60 |
43. การขายเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป หรือแพ ร้อยละ 60 |
44. เงินได้ประเภทที่มิได้ระบุข้างต้น ให้หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร |
หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา ต้องทำ 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่1 คำนวณเงินได้สุทธิ
เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี
ขั้นตอนที่2 คำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี Xอัตตราภาษี = ภาษีบุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ
หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน หัก ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
อัตราภาษีบุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) | อัตราภาษี | ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น | ภาษีสะสมสูงสุด |
0 – 150,000 บาท | ยกเว้นภาษี | – | – |
150,001 – 300,000 บาท | 5% | 7,500 บาท | 7,500 บาท |
300,001 – 500,000 บาท | 10% | 20,000 บาท | 27,500 บาท |
500,001 – 750,000 บาท | 15% | 37,500 บาท | 65,000 บาท |
750,001 – 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 บาท | 115,000 บาท |
1,000,001 – 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 บาท | 365,000 บาท |
2,000,001 – 5,000,000 บาท | 30% | 600,000 บาท | 965,000 บาท |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ | 965,001 บาทขี้นไป |