วันที่ 10 ม.ค. 2023 เวลา 20:52 น. Posted by Admin

แม่ค้าออนไลน์ รู้เรื่องภาษี สบายใจ หายห่วง


ต้องยอมรับว่า ยุคนี้ การขายของออนไลน์” ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกหลักของคนทำธุรกิจ เนื่องด้วยพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เพื่อความสะดวกไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่จ้างพนักงาน แต่อีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องเรียนรู้ไว้ นอกจากการตลาดแล้ว คือ การเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร

การขายของออนไลน์ต้องยื่นเสียภาษีหรือไม่ ?

ร้านค้าออนไลน์ที่อยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดา จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา  (ภงด.90)

  • ใช้เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)
  • รายรับไม่เกิน 1.8 ล./ปี ไม่ต้องยื่นขอจดVAT
  • รายได้เกิน 1.8 ล้าน/ปี  ต้องยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน (มาตรา 85 ในประมวลรัษฎากร)

ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

1.  การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ
(ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
(ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40
การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท
2.  การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 60
3.  การเก็บค่าต๋ง หรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่างๆ ร้อยละ 60
4.  การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
5.  การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล ร้อยละ 60
6.  การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้ หรือหนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
7.  การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้า หรือสิ่งอื่นๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
8.  การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
9.  การทำกิจการโรงแรม หรือภัตตาคาร หรือการปรุงอาหารหรือเครื่องดื่มจำหน่าย ร้อยละ 60
10.  การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย ร้อยละ 60
11.  การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง ร้อยละ 60
12.  การทำวรรณกรรม ร้อยละ 60
13.  การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชรพลอย หรืออัญมณีอื่นๆ รวมทั้ง การขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
14.  การทำกิจการสถานพยาบาล รวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 60
15.  การโม่หรือย่อยหิน ร้อยละ 60
16.  การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น ร้อยละ 60
17.  การขนส่ง หรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 60
18.  การทำบล็อกและตรา การรับพิมพ์หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
19.  การทำเหมืองแร่ ร้อยละ 60
20.  การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ร้อยละ 60
21.  การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา ร้อยละ 60
22.  การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 60
23.  การทำน้ำแข็ง ร้อยละ 60
24.  การทำกาว แป้งเปียก หรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน และการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง ร้อยละ 60
25.  การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60
26.  การซักรีด หรือย้อมสี ร้อยละ 60
27.  การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่น ซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ร้อยละ 60
28.  รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 60
29.  การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก หรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ร้อยละ 60
30.  การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60
31.  การฟอกหนัง ร้อยละ 60
32.  การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล ร้อยละ 60
33.  การจับสัตว์น้ำ ร้อยละ 60
34.  การทำกิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 60
35.  การกลั่น หรือหีบน้ำมัน ร้อยละ 60
36.  การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ร้อยละ 60
37.  การทำกิจการโรงสีข้าว ร้อยละ 60
38.  การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ ร้อยละ 60
39.  การอบหรือบ่มใบยาสูบ ร้อยละ 60
40.  การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดรวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
41.  การฆ่าสัตว์จำาหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
42.  การทำนาเกลือ ร้อยละ 60
43.  การขายเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป หรือแพ ร้อยละ 60
44.  เงินได้ประเภทที่มิได้ระบุข้างต้น ให้หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร

 

หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

 

การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา  ต้องทำ 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่1  คำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี

ขั้นตอนที่2  คำนวณภาษีบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี Xอัตตราภาษี  = ภาษีบุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ

 

หากใครไม่แน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเป็นเงินได้ประเภทไหน หัก ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่  สามารถดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

 

อัตราภาษีบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น ภาษีสะสมสูงสุด
0 – 150,000 บาท ยกเว้นภาษี
150,001 – 300,000 บาท 5% 7,500 บาท 7,500 บาท
300,001 – 500,000 บาท 10% 20,000 บาท 27,500 บาท
500,001 – 750,000 บาท 15% 37,500 บาท 65,000 บาท
750,001 – 1,000,000 บาท 20% 50,000 บาท 115,000 บาท
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% 250,000 บาท 365,000 บาท
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30% 600,000 บาท 965,000 บาท
5,000,001 บาทขึ้นไป 35% ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ 965,001 บาทขี้นไป