วันที่ 10 ม.ค. 2023 เวลา 20:41 น. Posted by Admin

มาวางแผนภาษี ปี 2566 กันเถอะ!


ผู้มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปีต้องเตรียมตัวก็คือ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  1. คำนวณด้วยเงินได้สุทธิ*
  2. คำนวณด้วยเงินได้พึงประเมิน (แบบเหมา)

รายได้จากเงินเดือน (รายได้ประเภทที่ 1) ใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้สุทธิ แต่ถ้าคุณมีรายได้ประเภทที่ 2-8 รวมกันถึง 1 ล้านบาท ให้ใช้วิธีคำนวณด้วยเงินได้พึงประเมินด้วยเพื่อเปรียบเทียบกัน วิธีไหนเสียภาษีมากกว่า ให้เสียภาษีด้วยวิธีนั้น

วิธีคำนวณเงินได้สุทธิ

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี

 

ประเภทของรายได้พึงประเมินต่าง

เงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1)-40(8) ค่าใช้จ่าย
40(1) คือ รายได้ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส หักค่าใช้จ่าย 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
40(2) คือ รายได้ ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม
40(3) คือ รายได้ค่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธิต่างๆตามกฎหมาย หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
40(4) คือ รายได้ดอกเบี้ย เงินปันผล หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
40(5) คือ รายได้จากค่าเช่า บ้าน ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินอื่นๆ หักค่าใช้จ่ายได้ 30 %
40(6) คือ รายได้วิชาชีพอิสระ( เช่น แพทย์ ,วิศวะ ,สถาปัตย์,บัญชี) หักค่าใช้จ่ายได้ 60 %
40(7) คือ รายได้รับเหมาก่อสร้าง หักค่าใช้จ่ายได้ 60 %
40(8) คือ รายได้ นอกเหนือจาก 40(1)-40(7) หักค่าใช้จ่ายได้   40-85 %

 

 

 

รายการค่าลดหย่อนปี2566

รายการลดหย่อนภาษีปี2566
ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล – อัตราค่าลดหย่อน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนคู่สมรส – อัตราค่าลดหย่อน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุตร – อัตราค่าลดหย่อน คนละ 30,000 – 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา – อัตราค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาท
ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ  – อัตราค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนการฝากครรภ์และคลอดบุตร – ตามที่จ่ายจริงและนำมาลดหย่อนไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าประกันลดหย่อนภาษี (เบี้ยประกันชีวิตตนเอง) – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าประกันลดหย่อนภาษี (เบี้ยประกันสุขภาพบิดา-มารดา) – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ค่าประกันลดหย่อนภาษี (เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง) – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) – ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน
 ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ – ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ค่าเงินประกันสังคม – ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
ค่าดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
ช้อปดีมีคืน – ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
เงินบริจาค – ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

 

วิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิสำหรับเสียภาษี Xอัตตราภาษี  = ภาษีบุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ

 

อัตราภาษีบุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ (บาท) อัตราภาษี ภาษีสูงสุดแต่ละขั้น ภาษีสะสมสูงสุด
0 – 150,000 บาท ยกเว้นภาษี
150,001 – 300,000 บาท 5% 7,500 บาท 7,500 บาท
300,001 – 500,000 บาท 10% 20,000 บาท 27,500 บาท
500,001 – 750,000 บาท 15% 37,500 บาท 65,000 บาท
750,001 – 1,000,000 บาท 20% 50,000 บาท 115,000 บาท
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% 250,000 บาท 365,000 บาท
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30% 600,000 บาท 965,000 บาท
5,000,001 บาทขึ้นไป 35% ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้สุทธิ 965,001 บาทขี้นไป